วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ห้า@บ้านเขียว :::: วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557


สิ่งที่เรียนรู้ : การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เตรียมความพร้อม  สู่การเป็นครูปฐมวัย  ซึ่งในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสัมมนาโดยมีการเล่าประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพี่สู่น้อง เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้เพลง และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรมต่างๆ

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ : เป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้ว่าการเป็นครูไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายที่ใครๆก็สามารถทำได้ เพราะการเป็นครูไม่ใช่เพียงแค่สอนเด็กให้ผ่านไปเป็นวันๆ แต่การที่จะเป็นครูที่ดีนั้นจะให้เด็กมากกว่าการสอนและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเป็นครูมืออาชีพไม่ใช่เป็นเพียงอาชีพครู

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง :  สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom’s Taxonomy ที่กล่าวว่าการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด
   ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956) ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
                1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ คือ ความรู้ความจำ  ความเข้าใจ  การนำความรู้ไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  การประเมินค่า
                2.จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ) เป็นค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่ การรับรู้  การตอบสนอง  การเกิดค่านิยม  การจัดระบบ  บุคลิกภาพ
                3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น คือ  การรับรู้   กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ  การหาความถูกต้อง   การกระทำอย่างต่อเนื่อง การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการจัดสัมมนาในวันนี้สามารถนำเทคนิคและประสบการณ์ต่างๆของรุ่นพี่มาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆที่ได้พบเจอและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมต่างๆได้ถูกต้องและตรงตามเป้าประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น