วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่สี่@บ้านเขียว :::: วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2557

สิ่งที่เรียนรู้ : การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ นิทานกับกาตั้งคำถาม  ซึ่งการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบการเล่านิทานและเทคนิคการเล่านิทานโดยใช้คำถามในระหว่างการเล่าและการนำนิทานที่เล่าไปต่อยอดในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ :  เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดกระบวนการการเรียนรู้ที่กระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาโดยใช้นิทานเป็นสื่อ

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง : การเล่านนิทานการตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของเด็กในระดับปฐมวัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่เด็กในวัยนี้ การเล่านิทานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเล่านิทานทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์แล้ว เนื้อหาในนิทานยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเสริม สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กได้

เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการจัดสัมมนาในวันนี้จะนำเทคนิคและวิธีการในการเล่านิทานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป

วันที่สาม@บ้านเขียว :::: วันพุธที่ 29 มกราคม 2557

สิ่งที่เรียนรู้ : การจัดกิจกรรมกลุ่ม
หน่วย สีสันแสนสวย เรื่องสีเหลืองของผัก , ผลไม้
เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น สาลี่ กลัวย
นอกจากนั้นเด็กยังได้ใช้การสัมผัส การสังเกต การตัดสินใจ ในการทำกิจกรรม

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ :  การนำของใส่ในกล่องเพื่อให้เด็กได้เกิดข้อสงสัย ว่าในกล่องมีอะไรอยู่ข้างในนั้นเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ มีความอยากที่จะเรียนรู้ในสิ่งทีครูนำมาสอน ฝึกการสังเกต และเด็กสามารถคิด ตัดสินใจในการทำกิจกรรมนั้นๆได้

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิต ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ประกอบอาหาร เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ฯลฯ
        กระบวนการให้สมองเรียนรู้ที่จะให้ความหมายสิ่งที่เห็น สิ่งที่เผชิญ ตีความ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มา เป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากการรับรู้ของสมองจำนวนมาก ถ้าไม่มีข้อมูลในความทรงจำ ก็ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ ดังนั้นกระบวนการพัฒนาการคิดของของเด็กจึงต้องมุ่งเน้นให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งที่ก่อรูปในการคิดของเด็กเริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง ประสบการณ์ของเด็กผ่านการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การได้ยิน และการเห็น จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างความหมายให้แก่สิ่งต่างๆ ครูจึงควรออกแบบกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งจัดให้เด็กมีประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ เด็กจะได้เคยชินกับการใช้ความคิดและคิดเป็นในที่สุด

เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการเรียนการสอนวันนี้เป็นการสอนที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง และมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลาตามความสนใจของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกคิดด้วยการใช้คำถามปลายเปิด และยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายของเด็ก

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่สอง@บ้านเขียว :::: วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557

สิ่งที่เรียนรู้ : การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามจังหวะ

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ :  การจัดกิจกรรมดนตรี เคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่เด็กๆอยากและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ คุณครูอารีย์จัดการเรียนการสอนสนุกสนานเป็นขั้นตอน มีการวัดผลการเรียนรู้ของเด็กในระหว่างการทำกิจกรรม

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง : แนวคิดตามทฤษฎี พหุปัญญาของ ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์
 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางการเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย ครูจะไม่สอนทักษะเชิงวิชาการ จะไม่เป็นรูปแบบและกฎเกณฑ์ แต่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทายให้เด็กฟังเสียงต่างๆ และให้เกิดทักษะการฟัง จำแนกเสียงต่างๆ เสียงช้า เร็ว ตามจังหวะดนตรี และกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย ในการเล่นเกมประกอบเพลง ดนตรี การเคลื่อนไหวตามจังหวะ ช้า-เร็ว การให้เด็กคิดท่าทางด้วยตนเอง จะช่วยให้เด็กก้าวไปสู่การพัฒนาการด้านสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และการแสดงออกอย่างมั่นใจ

         การส่งเสริมให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการร้องเพลงต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการร้องหมู่ เป็นบางครั้งจะเปิดโอกาสให้เด็กร้องเพลงเดี่ยวบ้าง เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะแต่ละบุคคล การร้องเพลงเน้นที่น้ำเสียงการเปล่งเสียงร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่จะนำมาสอนเด็กจึงควรเป็นเพลงสั้น และควรใช้ภาษาง่ายๆ จังหวะและทำนองไม่ควรยากจนเกินไป เนื้อเพลงควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก อาจจะเป็นเรื่องของความสนุกสนานหรือการท่องเที่ยวก็ได้ การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวควรบูรณาการให้เด็กได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดตามทฤษฎี พหุปัญญาของ ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้กล่าวไว้ว่าดนตรีเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน 9 ด้าน ของการพัฒนาพหุปัญญา ปัญญาทางด้านดนตรี (Musical Intelligence) หรือความสามารถทางดนตรี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน พ่อแม่และครูควรหาแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการฟังดนตรีและการเคลื่อนไหว

        นอกจากเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการในทุกๆ ด้านแล้ว ยังสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีงามชื่นชมสุนทรียภาพ ซึ่งเป็นการประสมประสานวิชาการด้านต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยได้ครบในทุกๆ ด้าน เด็กในวัยนี้ควรจะได้เล่นเครื่องประกอบจังหวะ ที่นำวัสดุในท้องถิ่นหรือเศษวัสดุมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องเคาะจังหวะ ที่มีระดับเสียงแตกต่างกัน เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่รับรู้จากการสัมผัส การได้ลงมือกระทำดังนั้นการเคลื่อนไหว ประกอบท่าทางกับเสียงดนตรี จึงเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ปฏิบัติและเป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เด็กสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ภาษาความหมายจากเนื้อเพลง การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว นอกจากจะใช้เครื่องประกอบจังหวะแล้ว อาจใช้เพลงร้อง หรือเพลงบรรเลงโดยเครื่องดนตรีล้วนๆ และเน้นที่จังหวะมาประกอบการเคลื่อนไหวก็ได้ เช่น เพลงเกี่ยวกับสัตว์ เพลงยอดนิยมทั่วไป แต่ควรจะเลือกเพลงที่มีจังหวะชัดเจน ซึ่งจะทำให้เด็กได้แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง หรือช่วยกันคิดระหว่างเด็กกับเด็ก หรือเด็กกับครูผู้สอนควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมทุกครั้งควรให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจ เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในเสียงเพลง และการเคลื่อนไหว
ที่มา :  บทความ กิจกรรมการเคลื่อนไหวกับความสุขใจของเด็กปฐมวัยละอออุทิศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี สกุลภารักษ์  จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ  http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research13.php


เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการเรียนการสอนวันนี้ทำให้เห็นเทคนิค วิธีการสจัดการเรียนการสอนดนตรีและการเคลื่อนไหวและจังหวะ เทคนิคการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง และเห็นพฤติกรรมของเด็กที่มีความกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจในการเลือกเครื่องเคาะประกอบจังหวะและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเด็กแต่ละคน

วันแรก@บ้านเขียว :::: วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2557


  • สิ่งที่เรียนรู้ : การเรียนรู้จากกิจกรรมเสรี

หน่วย สีแสนสนุก เรื่อง สีเหลือง (สีจากธรรมชาติ)
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้เด็กปั้นแป้งโด
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคณิตศาสตร์ ให้เด็กเล่นเกมห่วงหรรษา
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมภาษา ให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เด็กเห็นตามบัตรภาพให้ครูฟัง
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมศิลปะ ครูให้เด็กใช้ขมิ้นวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก

กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กต่อตัวต่อพลาสติกตามจินตนาการ
  • ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ :  คุณครูได้นำขมิ้นมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนซึ่งสื่อที่คุณครูใช้เป็นสื่อที่เด็กสามารถสัมผัส เรียนรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเด็กสามารถนำสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ไปบอกกับผู้ปกครอง และพูดคุยกับเพื่อนในห้องได้
  • ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง : ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
      บรุนเนอร์(Bruner)เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง(discovery learning)แนวคิดที่สำคัญๆของบรุนเนอร์มีดังนี้(Brunner,1963:1-54)

ทฤษฎีการเรียนรู้

      1. การจัดโครงสร้างของความรูให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

     2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

     3.การคิดแบบหยั่งรู้(intuition)เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

     4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบวามสำเร็จในการเรียนรู้

     5.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3ขั้นใหญ่ๆคือ

          5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ปะสารทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ

          5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด(Iconic Stage)เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

          5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)เป็นขั้นการเยนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

     6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม

    7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง(discovery learning)

ที่มา : http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html


  • เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อของจริงในการเรียนการสอนเป็นวิธีการที่ดี ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อโดยตรง ใช้ประสาทสัมผัสสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง  สื่อของจริง(ขมิ้น)ที่คุณครูได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนกิจกรรมศิลปะเรื่องสีเหลืองนั้นคุณครูน่าจะเพิ่มชนิดของสื่อให้มากขึ้น เช่น ฟักทอง แก่นขนุน หรือขมิ้นต่างชนิดกับทีคุณครูนำมา เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต ได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ไปในตั

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

1st IPad's

-สิ่งที่เรียนรู้ :1st My iPad's
-ทัศนคติ: *๐*
-ความคิดเห็น: ?.? 0.0 
-เชื่อมโยงทฤษฎี ?? : สอนแบบ???(บรรยาย/เด็กเป็นศูนย์กลาง)
-เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : สอนเป็นขั้นตอนฝุดๆ
เปิด>ตั้ง วิฟิ>สมัครบล็อค>เล่นเบยยยยยยยย
#เย้!!!!!!!!!!!!!!!
 

Hallo My blog's