ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ : การจัดกิจกรรมดนตรี เคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่เด็กๆอยากและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ คุณครูอารีย์จัดการเรียนการสอนสนุกสนานเป็นขั้นตอน มีการวัดผลการเรียนรู้ของเด็กในระหว่างการทำกิจกรรม
ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง : แนวคิดตามทฤษฎี พหุปัญญาของ ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์
การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางการเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย ครูจะไม่สอนทักษะเชิงวิชาการ จะไม่เป็นรูปแบบและกฎเกณฑ์ แต่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทายให้เด็กฟังเสียงต่างๆ และให้เกิดทักษะการฟัง จำแนกเสียงต่างๆ เสียงช้า เร็ว ตามจังหวะดนตรี และกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย ในการเล่นเกมประกอบเพลง ดนตรี การเคลื่อนไหวตามจังหวะ ช้า-เร็ว การให้เด็กคิดท่าทางด้วยตนเอง จะช่วยให้เด็กก้าวไปสู่การพัฒนาการด้านสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และการแสดงออกอย่างมั่นใจ
การส่งเสริมให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการร้องเพลงต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการร้องหมู่ เป็นบางครั้งจะเปิดโอกาสให้เด็กร้องเพลงเดี่ยวบ้าง เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะแต่ละบุคคล การร้องเพลงเน้นที่น้ำเสียงการเปล่งเสียงร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่จะนำมาสอนเด็กจึงควรเป็นเพลงสั้น และควรใช้ภาษาง่ายๆ จังหวะและทำนองไม่ควรยากจนเกินไป เนื้อเพลงควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก อาจจะเป็นเรื่องของความสนุกสนานหรือการท่องเที่ยวก็ได้ การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวควรบูรณาการให้เด็กได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดตามทฤษฎี พหุปัญญาของ ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้กล่าวไว้ว่าดนตรีเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน 9 ด้าน ของการพัฒนาพหุปัญญา ปัญญาทางด้านดนตรี (Musical Intelligence) หรือความสามารถทางดนตรี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน พ่อแม่และครูควรหาแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการฟังดนตรีและการเคลื่อนไหว
นอกจากเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการในทุกๆ ด้านแล้ว ยังสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีงามชื่นชมสุนทรียภาพ ซึ่งเป็นการประสมประสานวิชาการด้านต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยได้ครบในทุกๆ ด้าน เด็กในวัยนี้ควรจะได้เล่นเครื่องประกอบจังหวะ ที่นำวัสดุในท้องถิ่นหรือเศษวัสดุมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องเคาะจังหวะ ที่มีระดับเสียงแตกต่างกัน เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่รับรู้จากการสัมผัส การได้ลงมือกระทำดังนั้นการเคลื่อนไหว ประกอบท่าทางกับเสียงดนตรี จึงเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ปฏิบัติและเป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เด็กสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ภาษาความหมายจากเนื้อเพลง การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว นอกจากจะใช้เครื่องประกอบจังหวะแล้ว อาจใช้เพลงร้อง หรือเพลงบรรเลงโดยเครื่องดนตรีล้วนๆ และเน้นที่จังหวะมาประกอบการเคลื่อนไหวก็ได้ เช่น เพลงเกี่ยวกับสัตว์ เพลงยอดนิยมทั่วไป แต่ควรจะเลือกเพลงที่มีจังหวะชัดเจน ซึ่งจะทำให้เด็กได้แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง หรือช่วยกันคิดระหว่างเด็กกับเด็ก หรือเด็กกับครูผู้สอนควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมทุกครั้งควรให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจ เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในเสียงเพลง และการเคลื่อนไหว
ที่มา : บทความ กิจกรรมการเคลื่อนไหวกับความสุขใจของเด็กปฐมวัยละอออุทิศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี สกุลภารักษ์ จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research13.php
เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : ในการเรียนการสอนวันนี้ทำให้เห็นเทคนิค วิธีการสจัดการเรียนการสอนดนตรีและการเคลื่อนไหวและจังหวะ เทคนิคการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง และเห็นพฤติกรรมของเด็กที่มีความกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจในการเลือกเครื่องเคาะประกอบจังหวะและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเด็กแต่ละคน
เริ่มต้นได้ดีแล้วค่ะ แต่ถ้าเสริมหรือปรับเนื้อหานิดหน่อยจะทำให้บันทึกนี้มีประโยชน์มากขึ้นนะคะ
ตอบลบ1. สิ่งที่เรียนรู้ นอกจากจะใส่ชื่อกิจกรรมแล้ว ควรเขียนรายละเอียด สิ่งที่พบด้วย เช่น เห็นว่าเด็กทำกิจกรรมอะไร ปฏิกิริยาเด็กเป็นอย่างไร 2. ทฤษฎีสรุปสั้นๆ 2-3 บรรทัดพอค่ะ ไม่ต้องเอามาทั้งหมด