วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่หก@บ้านเขียว :::: วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557


สิ่งที่เรียนรู้ : กิจกรรมการรับดาวเด็กดี ด้านความซื่อสัตย์ ซึ่งกิจกรรมนี้การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของความซื้อสัตย์โดยผ่านกิจกรรมการเล่านิทานเรื่อง "สร้อยของชาวประมง"

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ : การใช้นิทานเป็นสื่อในการบอกเล่าเรื่องราวที่ทำให้เด็กเข้าใจงายและเด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรมที่ดีของชาวประมงที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง :  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์

      Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
     การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า


เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : การนำนิทานมาเป็นตัวแบบในการแสดงพฤติกรรมต่างๆของตัวละครให้กับเด็กได้เป็นเป็นรูปธรรมและการมอบรางวัลให้กับเด็ก เพื่อเป็นการเสริมแรงให้เด็กได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น