วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่สิบ@บ้านเขียว :::: วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่เรียนรู้ : การจัดกิจกรรมพละศึกษาให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ : ในการจัดกิจกรรมพละศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเด็กเมื่อออกนอกห้องเรียนมักจะสนใจแต่สิ่งแวดล้อมรอบข้าง และจะไม่ค่อยสนใจคุณครู



 ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง :  กิจกรรมการเล่นเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ที่ครูจัดในสถานศึกษา มีดังนี้
  • กิจกรรมกลางแจ้ง (outdoor play) เป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่เป็นหลัก เนื่องจากเด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนทั้งแขน ขา ลำตัว และการประสานสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในแต่ละวันครูจัดให้เด็กได้เล่นกลางแจ้งวันละประมาณ 40 – 60 นาที โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระและการเล่นเกมพลศึกษา สำหรับการเล่นเครื่องเล่นสนามซึ่งทางโรงเรียนจัดไว้ให้ เช่น ชิงช้า ม้าหมุน ราวไต่ โครงไต่ กระดานลื่น บ้านจำลอง บ่อทราย เป็นต้น เมื่อเด็กได้เล่นอุปกรณ์เครื่องเล่นเหล่านี้ จะทำให้เด็กได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัว ส่วนเกมพลศึกษาเป็นกิจกรรมที่ครูจัดให้กับเด็กเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ซึ่งลักษณะของกิจกรรมเกมดังกล่าวจะเน้นการเล่นที่มีขั้นตอนการเล่น มีกฎ กติกา ข้อตกลง มีการแข่งขันแบบทีม เช่น เกมการวิ่งเก็บของ เกมการโยนลูกบอลลงตะกร้า เกมโยนลูกช่วง เกมแข่งขันการเดินทรงตัวบนกระดานทรงตัว เป็นต้น
  • กิจกรรมการเล่นในร่ม (indoor play) เป็นการเล่นที่อยู่ภายในอาคารเรียนมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่เช่นเดียวกันกับการเล่นกลางแจ้ง การเล่นประเภทนี้ เช่น การเล่นบล็อกต่างๆ การเล่นมอญซ่อนผ้า เก้าอี้ดนตรี กาฟักไข่ เป็นต้น
  • กิจกรรมการออกกำลังกาย (exercise) กิจกรรมการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กเพื่อให้เด็กสามารถควบคุมกล้ามเนื้อใหญ่ของร่างกาย ส่วนใหญ่กิจกรรมนี้ครูจะเป็นผู้นำให้เด็กปฏิบัติตาม เช่น การให้เด็กกระโดดขึ้น/ลง การกระโจนลง การแกว่งแขน การกระโดดและตบมือ การกระโดดสูง กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง เป็นต้น
  • กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย (physical movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ใช้ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่ให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อสร้างความตระหนักให้กับเด็กในเรื่องหน้าที่ของร่างกาย สามารถควบ คุมการใช้งานส่วนต่างๆของร่างกายให้สัมพันธ์กันถูกจังหวะเวลา การเคลื่อนไหวประกอบด้วยการควบคุม การทรงตัว การควบคุมการใช้กล้ามเนื้อแขน ขา และการตระหนักเรื่องการเคลื่อนไหว ซึ่งในระดับปฐมวัยการเคลื่อนไหวร่างกายแบ่งออก เป็น 2 ประเภทคือ การเคลื่อนไหวพื้นฐานและการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ/ดนตรี การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ได้แก่ การนั่ง การยืน การเดิน การวิ่ง การกระโดด การกระโจน การเคลื่อนไหวพื้นฐานสามารถนำมาจัดเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ได้ เช่น การเคลื่อนไหวตามสัญญาณ การเคลื่อนไหวตามผู้นำ การเคลื่อนไหวเลียนแบบสัตว์ ส่วนการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ/ดนตรี เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายของเด็กเมื่อได้ยินเสียงจากการเครื่องเคาะ เครื่องตี หรือการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เช่น ดนตรีเร็วให้เคลื่อนไหวแบบเร็ว ถ้าได้ยินเสียงดนตรีที่มีจังหวะช้าก็ให้เคลื่อน ไหวร่างกายแบบช้า เป็นต้น









เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : สามารถนำวิธีการในการจัดกิจกรรมแบบง่ายๆที่่เด็กสามารถทำได้ เช่น การกระโดด การลุกนั่ง การทำสะพานโค้ง การเดินถอยหลัง การวิ่ง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นการฝึกการเคลื่อนไหว การทรงตัว และรวมไปถึงการประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆของร่างกาย  เพื่อส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้กับเด็กในวัยนี้อีกด้วย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น