วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่สิบสาม@บ้านเขียว :::: วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่เรียนรู้ : กิจกรรมกลางแจ้ง (การเล่นเครื่องเล่นสนาม)

ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้ : การเล่น ถือเป็นการเรียนรู้สิ่งรอบข้าง และช่วยให้เด็กมีพื้นที่ในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย และทักษะในการเข้าสังคม  พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้เหตุและผลในชีวิตประจำวัน รวมถึงการปรับตัวและการใช้แรงกาย ช่วยให้เด็กได้ออกกำลังกาย ทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง :  องค์กร National Program for Playground Safety แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำในการฝึกฝนและพัฒนาตามหลักการ S.A.F.E. เชื่อว่า เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเล่น เด็กทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะเล่น และเล่นเพื่อจะเรียนรู้ และเด็กทุกคนจะได้รับประสบการณ์การเล่นที่ปลอดภัย มีคุณค่า และเอื้อต่อการมีพัฒนาการที่ดี โดยลักษณะของนโยบาย S.A.F.E. ที่ครูหรือสถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อประสิทธิภาพของสนามเล่น อธิบายได้ดังนี้
“S” หรือการสอดส่องดูแล (Supervision) และการสำรวจ (Survey)
  • ครูควรสอดส่องดูแลเด็กอย่างเหมาะสม โดยให้เด็กอยู่ในสายตาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ลับตา เช่น ในเครื่องเล่นสำหรับคลาน
  • ครูต้องมีความรู้ในการปฐมพยาบาลและช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน
  • ติดประกาศแจ้งกฎระเบียบการเล่นเครื่องเล่นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
  • ครูควรกำชับนักเรียนให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเล่นเครื่องเล่น และปฏิเสธไม่ให้นักเรียนเล่นเครื่องเล่น หากมีการละเมิดเกิดขึ้น
  • ก่อนที่จะอนุญาตให้นักเรียนเล่นเครื่องเล่น ครูควรสำรวจให้ดีก่อนว่า มีจุดไหนที่ชำรุดหรืออาจเป็นอันตรายต่อเด็ก และแจ้งให้เด็กระวังบริเวณเหล่านั้นเป็นพิเศษ
  • มองหาเศษแก้วแตก ขยะ ชิ้นโลหะ และของมีคมต่างๆ
  • ในช่วงกลางวัน ครูควรตรวจสอบเครื่องเล่นที่เป็นโลหะว่าร้อนเกินไปหรือไม่ หากร้อนเกินไป ก็ไม่ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นดังกล่าว และหันไปเล่นเครื่องเล่นอื่นแทน
“A” หรือความเหมาะสมกับวัย (Age appropriate) และการออกแบบ (Design)
  • สำหรับเด็กอายุ 2-5 ขวบ เครื่องเล่นที่สูงเกินกว่า 20 นิ้วจากพื้นดิน ควรมีราวป้องกันไม่ให้เด็กตกลงมา
  • เครื่องเล่นควรมีความเหมาะสมกับเด็ก ทั้งขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และลักษณะการเล่นที่ไม่โลดโผน
“F” หรือพื้นผิวกันกระแทก (Fall Surface Cushioning)
  • ควรมีพื้นผิวกันกระแทกตลอดบริเวณเครื่องเล่น และมีเกินออกไปจากเครื่องเล่นอีกอย่างน้อย 6 ฟุต
  • เครื่องเล่นชิงช้าควรมีพื้นผิวกันกระแทกเกินความยาวของสายชิงช้าอย่างน้อย 2 เท่า
  • ป้องกันไม่ให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งของอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายอยู่ใต้เครื่องเล่น
“E” หรือการบำรุงรักษา (Equipment Maintenance)
  • ตรวจสอบว่าเครื่องเล่นยึดติดกับพื้นอย่างปลอดภัย มีความแข็งแรงปราศจากส่วนที่ชำรุด หากพบเห็นความผิดปกติ ควรแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ































เสนอแนวทางปฏิบัติจากความรู้ใหม่ : การเล่นเครื่องเล่นสนามจึงเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน ดังนั้นครูควรมีการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพตามวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น